ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเอ็กซ์ 2 (x2)ตราหมอเส็ง
รายละเอียดสินค้า
ชื่อผลิตภัณฑ์ : ยาน้ำว่านชักมดลูก สูตร 2 (เสริมอาหาร X2)ตราหมอเส็ง
มาตราฐาน : iso 9001,GMP,ฮาลาล
อ.ย.19-2-02146-2-0022
ราคาปกติ : 2,850 บาท
ราคาสมาชิก : 2,500 บาท
จำนวน PV : 75 PV
ขนาดบรรจุ : 750 cc.
จำนวนบรรจุ : 1 ขวด
ซื้อ 2 ขวด โปรโมชั่นพิเศษ จัดส่งถึงบ้านฟรี
ในยา 2,050 ซีซี ทำมาจากส่วนประกอบสำคัญ
ว่านชักมดลูก 150 กรัม
เอี๊ยะบ่อเช่า 100 กรัม
โกฐเชียง 100 กรัม
แปะตุ๊ก 100 กรัม
ไพล 100 กรัม
กระชายดำ 100 กรัม
โสมคน 90 กรัม
และตัวยาอื่นๆ
วิธีรับประทาน
รับประทานครั้งละ 30 cc. วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ก่อนอาหาร
ใช้ฝ่ามือกระแทกก้นขวดและเขย่าให้เข้ากันก่อนรับประทาน
หลังจากเปิดขวดยาแล้ว เพื่อรักษาคุณภาพควรแช่ไว้ในตู้เย็น
ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปแล้วแต่บุคคล
คำเตือน
สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน
สรรพคุณยาน้ำว่านชักมดลูก สูตร2 ตราเส็ง
เป็นสูตรเน้นรักษา มดลูก ตกขาว แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ บรรเทาอาการปวดแสบ ปวดร้อนในช่องคลอด ผิวพรรณชุ่มชื่น มีน้ำมีนวล มหาเสน่ห์ของสมุนไพรไทย ตราหมอเส็ง สำหรับใช้เสริมสร้างภายในช่องคลอดของสตรี เป็นสมุนไพร ดูแลความสะอาดภายในช่องคลอด ช่วยดูแลอาการมดลูกต่ำหรือปวดหน่วงมดลูกเป็นประจำ เมื่อบำรุงร่างกายด้วยว่านชักมดลูกจะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เลือดน้อย อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เวียนศรีษะ ใจสั่น ใจหวิว จะเป็นลม มือ-เท้าเย็นชา นอนไม่หลับ อาการเล่านี้จะดีขึ้น
สำหรับประจำเดือนมาไม่ปกติ ใช้เป็นยาสมุนไพรดูแลความสะอาดภายใน
1. ดูแลอาการมดลูกต่ำมดลูกโตมดลูกบางปวดหน่วงมดลูกเป็นประจำ
2. แก้หน่วงเสียวท้องน้อยหรือปีกมดลูกทั้งสองข้าง
3. แก้ปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงระหว่างมีรอบเดือน
4. ช่วยลดอาการระดูขาว ที่เป็นมานานในสุภาพสตรี
5. ดับกลิ่นภายในช่องคลอด
6. ช่วยให้ความอบอุ่นกับร่างกายช่วยลดอาการมือ-เท้าเย็นหนาวเป็นประจำหนาวในอก
7. ช่วยลดอาการเจ็บหรือปวดภายในช่องคลอด
สรรพคุณเสริมอาหาร X2 หมอเส็ง
ดอกบัวหลวง - ช่วยลดอาการตกขาว
ดอกคำฝอย - ช่วยกระชับมดลูกให้เข้าอู่
รากบัว - ช่วยบำรุงเลือด ช่วบให้ระบบไหลเวียนของเลือดมีประสิทธิภาพ
ตังกุย - ลดอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องประจำเดือน
เส็กตี่ - ทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นปกติ
คุณหมอเส็ง แนะนำ สมุนไพรหมอเส็ง ที่ช่วยท่านได้
ติดต่อ คุณ ธีระยุทธ ศรีแก้ว Tel.0898576055
ติดต่อ คุณ นันทนา สายกระสุน Tel.0925281119
มดลูกหย่อน (Prolapsed Uterus) หรือมดลูกต่ำ (Pelvic Organ Prolapse)
คือภาวะที่มดลูกหย่อนหรือเลื่อนหลุดลงต่ำมาอยู่ที่ช่องคลอด โดยปกติ มดลูกซึ่งเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงมีตำแหน่งอยู่ภายในอุ้งเชิงกราน มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์กลับด้าน มีกล้ามเนื้อที่ห้อยอยู่ระหว่างกระดูกก้นกบกับกระดูกหัวหน่าวทำหน้าที่ยึดมดลูก กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ มีเอ็นและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันยึดมดลูกให้อยู่ในอุ้งเชิงกราน หากเนื้อเยื่อดังกล่าวไม่แข็งแรงหรือถูกทำลาย จะส่งผลให้มดลูกหย่อนลงไปที่ช่องคลอด
ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่เกิดภาวะมดลูกหย่อนมักมีอวัยวะอื่นภายในอุ้งเชิงกรานหย่อนลงมาด้วย เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ โดยภาวะมดลูกหย่อนแบ่งออกเป็น 4 ระดับตามความรุนแรงที่เกิดขึ้น ดังนี้
ระดับที่ 1 เกิดภาวะมดลูกหย่อนมาที่ช่องคลอดครึ่งหนึ่ง
ระดับที่ 2 เกิดภาวะมดลูกหย่อนมาใกล้ปากช่องคลอด
ระดับที่ 3 เกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอด
ระดับที่ 4 เกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอดทั้งหมด เรียกว่ามดลูกย้อย (Procidentia) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทั้งหมดเสื่อมสภาพ
นอกจากนี้ ปัญหาสุขภาพบางอย่างก็อาจเป็นสาเหตุของภาวะมดลูกหย่อน โดยทำให้กล้ามเนื้อที่ยึดมดลูกอ่อนแอไม่แข็งแรง ได้แก่ ปัญหากระเพาะปัสสาวะหย่อน ปัญหาลำไส้ส่วนบนหรือลำไส้เล็กหย่อน และปัญหาลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหย่อน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ปัญหากระเพาะปัสสาวะหย่อน (Cystocele) กระเพาะปัสสาวะหย่อนมาที่ช่องคลอด ทำให้ผนังมดลูกด้านบนส่วนหน้าเกิดเคลื่อน ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะมาก และกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ปัญหาลำไส้ส่วนบนหรือลำไส้เล็กหย่อน (Enterocele) ลำไส้เล็กบางส่วนหย่อนลงมาที่ช่องคลอด ทำให้ผนังมดลูกด้านบนส่วนหลังเคลื่อน ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนถูกดึงและปวดหลังเมื่อยืนขึ้น และอาการทุเลาเมื่อนอนราบลงไป
ปัญหาลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหย่อน (Rectocele) ลำไส้ตรงหย่อนลงมาที่ช่องคลอด ทำให้ผนังมดลูกด้านล่างส่วนหลังเกิดเคลื่อน ส่งผลต่อการเคลื่อนตัวของอุจจาระในลำไส้ใหญ่
อาการของมดลูกหย่อน
ภาวะมดลูกหย่อนหรือมดลูกต่ำจะแสดงอาการที่แตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น ผู้ที่เกิดมดลูกหย่อนเพียงเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ส่วนผู้ที่เกิดภาวะมดลูกหย่อนค่อนข้างรุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก อาจมีอาการ ดังนี้
รู้สึกหน่วงเหมือนถูกถ่วงที่อุ้งเชิงกราน หรือรู้สึกมีบางสิ่งโผล่ออกมาจากช่องคลอด ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องดันกลับเข้าไปข้างในช่องคลอด รวมทั้งรู้สึกคล้ายนั่งทับลูกบอลเล็ก ๆ
มีเนื้อเยื่อโผล่ออกมาจากช่องคลอด หรือมองเห็นมดลูกโผล่ออกมาจากช่องคลอด
เลือดออกจากช่องคลอด
มีตกขาวมากขึ้น
รู้สึกไม่สบายหรือลำบากเมื่อมีเพศสัมพันธ์
มีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะได้ช้า รู้สึกปัสสาวะไม่สุดและต้องการปัสสาวะตลอดเวลาหรือปัสสาวะเล็ดเมื่อไอ จาม หรือออกกำลังกาย
กระเพาะปัสสาวะอักเสบหลายครั้ง
ท้องผูก
ปวดหลังส่วนล่าง
เดินไม่สะดวก
หากอาการดังกล่าวไม่ทุเลาและแย่ลงเรื่อย ๆ ปัสสาวะและขับถ่ายลำบาก หรือมดลูกหย่อนออกมาทั้งหมด ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ผู้ที่ประสบภาวะมดลูกหย่อนและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจเสี่ยงมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์ในระยะยาวได้
สาเหตุของมดลูกหย่อน
ภาวะมดลูกหย่อนเกิดจากกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่รองรับอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานนั้นเสื่อมสภาพลง โดยปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว ประกอบด้วย
อายุมาก กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานมักเสื่อมสภาพหรือไม่แข็งแรงเมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะมดลูกหย่อนได้
คลอดบุตร ผู้ที่เคยคลอดบุตร โดยเฉพาะผู้ที่คลอดลำบาก คลอดทารกหลายคนในคราวเดียว หรือคลอดทารกที่มีขนาดตัวใหญ่มาก มักประสบภาวะมดลูกต่ำ
เข้าวัยทอง ผู้ที่เข้าวัยทองจะสูญเสียมวลเนื้อเยื่อ รวมทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำลง
น้ำหนักตัวมาก ผู้ที่น้ำหนักตัวมากจากโรคอ้วนหรือมีเนื้องอกในมดลูก (Fibroids) ซึ่งไม่ใช้เนื้อร้าย หรือเกิดซีสต์ที่รังไข่ อาจทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานถูกถ่วงให้ตึง
มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ผู้ที่ป่วยหรือเกิดปัญหาสุขภาพที่ส่งผลให้เกิดแรงกดบริเวณท้องมากขึ้น เช่น ภาวะหลอดลมอักเสบหรือโรคหอบที่ทำให้เกิดการไอเรื้อรัง ท้องผูกที่ทำให้เกร็งท้องเมื่อออกแรงเบ่ง เนื้องอกในอุ้งเชิงกราน หรือเกิดการสะสมของเหลวที่ท้อง
ผ่าตัดที่อุ้งเชิงกราน ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน เช่น ผ่าตัดมดลูก หรือผ่าตัดรักษากระเพาะปัสสาวะ สามารถเกิดภาวะมดลูกหย่อนได้
ยกของหนัก ผู้ที่ต้องยกของหนักมาก ๆ เป็นเวลานาน จะส่งผลต่ออวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน
นอกจากนี้ อาการข้อเคลื่อนหลุดง่าย กลุ่มอาการมาร์แฟน (Marfan Syndrome) ซึ่งส่งผลต่อหลอดเลือด ดวงตา และกระดูก และโรคหนังยืดผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในร่างกายเสื่อมสภาพลง นำไปสู่ภาวะมดลูกหย่อนได้
การวินิจฉัยมดลูกหย่อน
ผู้ที่มีอาการมดลูกหย่อน ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยภาวะดังกล่าว แพทย์จะพิจารณาประวัติการรักษาของผู้ป่วยและตรวจอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน โดยการตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะมดลูกหย่อนนั้น มีดังนี้
การตรวจอุ้งเชิงกราน เบื้องต้นแพทย์จะตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยเกิดภาวะมดลูกหย่อนมากน้อยเพียงใด รวมทั้งตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยให้ผู้ป่วยลองขมิบเพื่อหยุดปัสสาวะ ทั้งนี้ แพทย์จะให้ผู้ป่วยยืน นอนลง หรือลองให้ไอและเกร็งท้องเพื่อเพิ่มแรงกดบริเวณท้อง
การตรวจอื่น ๆ แพทย์อาจตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม โดยแพทย์อาจทำอัลตราซาวด์เพื่อวินิจฉัยปัญหาอื่นเกี่ยวกับอุ้งเชิงกรานที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยภาวะมดลูกหย่อนไม่จำเป็นต้องตรวจด้วยภาพสแกน ภาพสแกนต่าง ๆ อาจใช้เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของภาวะมดลูกหย่อนที่เกิดขึ้นบ้าง นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะเล็ดเมื่อไอหรือจาม อาจได้รับการตรวจระบบประสาททางเดินปัสสาวะ (Urodynamics) โดยแพทย์จะสอดท่อเล็ก ๆ เข้าไปที่กระเพาะปัสสาวะเพื่อตรวจการทำงานและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่เกิดภาวะไตอุดตัน (Ureteral Obstruction) อันเนื่องมาจากมดลูกหย่อนออกมาจากช่องคลอดทั้งหมด อาจได้รับการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous Pyelogram) เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป
฿2,500
|
|
-
-
ผลิตภัณฑ์หมอเส็ง lot ใหม่ เบิกวันต่อวัน ไว้บริการทุกๆท่านค่ะ สนใจสั่งซื้อ Tel.089-857-6055 จอมใจ https://line.me/ti/p/Pdg-4cMeub
-
฿2,500 -
฿3,250 -
฿1,200 -
฿2,250 -
฿1,200 -
฿1,820 -
฿1,250
-